การจดทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรส

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 8,074 view

 

1. การสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน
การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยผู้ขอจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ในกรณีเป็นผู้เยาว์จะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ปกครองมาแสดงต่อนายทะเบียน และต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

1.      คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)

2.      บันทึกการสอบสวน (โปรดมาให้การที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน)

3.      บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครองพร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง 1 ชุด

4.      ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด
(สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)

5.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา หน้าที่มีรูปถ่าย หน้าต่ออายุหนังสือเดินทาง หน้าเปลี่ยนนามสกุล และหน้าวีซ่าอย่างละ 1 ชุด

6.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจาก
กองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย
กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง(ออกโดยที่ว่าการอำเภอไม่เกิน 3 เดือน)ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

7.      หากเคยแต่งงานมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า พร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง
กรณี ที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

8.      รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ

1.2 การสมรสระหว่างคนไทยกับจีน
การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน
            เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

1.      คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)

2.      บันทึกการสอบสวน (โปรดมาให้การที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เพื่อลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน)

3.      บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือ ใบต้นขั้วคำร้องขอมีบัตรประชาชน มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ หรือเอกสารรับรองบุคคลออกโดยกรมการปกครองพร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง 1 ชุด

4.      ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด (สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น)

5.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย หน้าต่ออายุหนังสือเดินทาง หน้าเปลี่ยนนามสกุล และหน้าวีซ่ามาด้วยอย่างละ 1 ชุด

6.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจาก
กองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย
กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

7.      หากเคยแต่งงานมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า พร้อมสำเนา 1 ชุด มาแสดง
กรณี ที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

8.      รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ

เอกสารของบุคคลสัญชาติจีน

1.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง

2.      รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ

3.      ใบรับรองความเป็นโสด

* เอกสารทุกอย่างต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น*

1.3 การสมรสระหว่างคนไทยกับคนสัญชาติอื่น
การขอจดทะเบียนการสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องไปยื่นคำร้องด้วย ตนเองที่ สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจาก คู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน
            เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

1.      คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ)

2.      บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง หรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือเอกสารรับรองบุคคลที่คัดสำเนาจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนาด้านหน้า และด้านหลัง 1 ชุด

3.      ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากที่ว่าการอำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด
(สำเนาซึ่งที่ว่าการอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือน นับถึงวันที่มายื่น)

4.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย หน้าต่ออายุหนังสือเดินทาง และหน้าเปลี่ยนนามสกุล กรณี มีวีซ่า กรุณาถ่ายสำเนาหน้าวีซ่ามาด้วย 1 ชุด

5.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย  กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง(ออกโดยที่ว่าการอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)

6.      หากเคยจดทะเบียนหย่ามาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่าพร้อมสำเนา 1 ชุด กรณี ที่เป็นหญิงไทยต้องหย่ามาแล้วอย่างน้อย 310 วัน หากหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

7.      หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน กรุณานำใบเปลี่ยนชื่อตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง

8.      รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป

เอกสารของบุคคลสัญชาติอื่น

1.      หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด

2.      หนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานทูต/สถานเอกอัครราชทูตฯ ของประเทศคู่สมรส ซึ่งประจำประเทศจีน 1 ชุด

3.      กรณีเป็นหญิงการสมรสเดิมสิ้นสุดลงจะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง

4.      ใบรับรองการทำงาน 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจากสำนักงานนิติกรณ์ประจำพื้นที่ (Notary Service Office: 公证处)

5.      ใบรับรองการเสียภาษี (1 ปี ย้อนหลัง) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน

6.      ใบรับรองเงินเดือน (3 เดือนย้อนหลัง) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจากสำนักงานนิติกรณ์ประจำพื้นที่ (Notary Service Office: 公证处)

7.      รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว 1 รูป

กำหนดเสร็จ  ประมาณ 1 ชั่วโมง (ไม่มีค่าธรรมเนียม)

8.         หมายเหตุ
ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล ภายหลังการสมรสแล้ว คู่สมรสมีสิทธิเลือกใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างคงใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนทราบหากคู่สมรสชาวต่างชาติ ไม่ได้ทำงาน ให้เขียนจดหมายรับรองรายได้ของตนเอง แล้วนำไปประทับตรารับรองที่สำนักงานนิติกรณ์ประจำพื้นที่ (Notary Service Office: 公证处)